วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Retro - Hybrid คือ ?

Retro

Retro (เรโทร) มีความหมายว่าการย้อนคืนสู่ความประทับใจเก่าๆ ปัจจุบันแนว Retro เป็นที่นิยมและกำลังเติบโตในการตลาดของไทย ตัวอย่างก็มีตามสถานที่เช่น เพลินวาน - หัวหิน หรือรายการโทรทัศน์อย่างรายการ ตลาดสดสนามเป้า หรือแฟชั่นแบบ Retro ย้อนยุค ที่กำลังเป็นที่นิยมในตลาด รวมถึงภาพยนต์ อันธพาล เป้นต้น
ในเชิงการตลาด Retro แบ่งเป็น 4 แบบ คือ
1.Retro Retro คือ การนำของเก่ามาใช้ใหม่โดยไม่ผ่านการดัดแปลงใดๆทั้งสิ้น เช่น levi501 ที่นำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง
2.Retro Nova คือ การใช้รูปทรงเก่า หรือรูปแบบเก่า แต่ผสมผสานเทคโนโลยีใหม่ เช่น วิทยุที่ใช้รูปร่างหน้าตาที่เป็นแบบเก่า แต่วงจรไฟฟ้าภายในเป็นรูปแบบทันสมัย
3.Retro Deluxe คือ เป็นการใช้เรื่องเก่า กับเรื่องใหม่ผสมกัน เช่น ภาพยนต์เรื่อง STARWARS แม้หนังจะเป็นเรื่องที่ออกแนวอวกาศ แต่เนื้อเรื่องก็เกี่ยวกับเจ้าหญิง อัศวินแบบเก่าๆ อีกเรื่องคือทวิภพ ที่มีการย้อนยุคและนำอดีตกับปัจจุบันผสมกัน
4.Retro Futurism แนวนี้เป็นที่นิยมที่สุดในหมู่นักออกแบบ คือ เป็นการเจาะดูว่าเทรนด์เก่าๆมีอะไรดี กระแสความชอบในตอนนั้นเป็นแบบใด แล้ว คาดการกระแสหรือเทรนด์ในอนาคตของสิ่งนั้น ว่าจะไปทิศทางใด วิเคราะห์แนวโน้ม เช่น รถโฟล์ค เป็นรถที่เรียบง่าย ประหยัด และเป็นทางเลือกของคนที่หลีกหนีการขับรถคันใหญ่ๆ และส่วนมากจะเป็นคนที่ต้องการความแตกต่างจากรถทั่วไป จากการวิจัยพบว่า วงกลม สื่อเป็นความเรียบง่ายอย่างชัดเจน รถโฟล์ครุ่นใหม่ที่ออกมาจึงมี Design ที่โค้งมน ดูเรียบง่าย และการโฆษณา ยังเน้นไปที่ การฉีกกฏเดิมๆ


Hybrid

hybrid คือ การผสมผสานของเทคโนโลยี ทำให้เกิด ผลิตภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่นการนำโทรศัพท์มือถือมารวมกับกล้องถ่ายรูป ทำให้เกิด โทรศัพท์มือถือที่ถ่ายรูปได้ จึงสรุปง่ายๆเลยว่า Hybrid คือ ลูกผสม ของสิ่งต่างนั้นเอง

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมาย : นักเรียนมัธยมปลาย
เนื่องจากสภาพสังคมในตอนนี้เสื่อมลงไปมาก มีข่าวเสียๆออกมามากมายที่เกี่ยวกับพฤติกรรมนักเรียนที่ไม่เหมาะสม ส่วนมากข่าวที่ออกมานั้นจะเป็นนักเรียนที่อยู่ในช่วงมัธยมปลาย ดูง่ายๆจากการค้นหาข้อมูลในเว็บค้นหาอย่าง Google ก็มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวไม่ดีเกี่ยวกับนักเรียน

ภาพจากเว็บ https://www.google.co.th/#hl=th&sclient=psy-ab&q=%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1&oq=%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1&gs_l=hp.3...2577.2577.6.2953.1.1.0.0.0.0.127.127.0j1.1.0...0.0...1c.0N4GieudT54&pbx=1&bav=on.2,or.r_gc.r_pw.r_qf.,cf.osb&fp=ce2bd7739eb521fa&biw=1366&bih=663

ตัวผมจึงมีแนวคิดที่จะนำเสนอสื่อที่เข้าถึงนักเรียนง่ายๆ อย่างเช่นพวกนิตยสาร ที่เป็นที่สนใจของนักเรียนอยู่แล้ว โดยการนำเสนอข่าวในรูปแบบนิตยสารที่ใช้ภาษาง่ายๆเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจของนักเรียนมัธยม

พัฒนาการทางด้านสังคมจิตวิทยาของวัยรุ่น
( Psychosocial Development in Adolescent )
โดย : นพ. วิโรจน์ อารีย์กุล วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

วัยรุ่นเป็นวัยช่วงต่อระหว่างวัยเด็กและวัย ผู้ใหญ่เป็นช่วงระยะเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเจริญเติบโตทางด้าน ร่างกาย ลักษณะที่บ่งบอกถึงความเป็นหนุ่มสาว ขณะเดียวกันพัฒนาการทางด้านอารมณ์ สังคมและจิตใจก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยแต่เป็นไปในลักษณะที่ไม่ค่อยสอดคล้องหรือ เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความสับสน ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดความยับยั้งชั่งใจ ขาดประสบการณ์ ทำให้วัยรุ่นตัดสินใจกระทำหรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมโดยไม่ได้คำนึงถึงผล เสียที่เกิดขึ้นตามมาจากการกระทำของตน และช่วงวัยรุ่นถือว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่มีปัญหาทางด้านจิตสังคม อารมณ์และพฤติกรรมเสี่ยงมากกว่าช่วงอายุอื่นๆ (1) ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
วัยรุ่นเป็นระยะของการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการทาง ด้านสรีระของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมไปพร้อมๆ กัน ซึ่งพัฒนาการบางอย่างได้ดำเนินการมาก่อนบ้างแล้วในช่วงระยะก่อนวัยรุ่นและ กระบวนการพัฒนาการในด้านต่างๆ ยังมีการดำเนินการต่อไป ถึงแม้จะมีการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายเต็มที่แล้ว (2) ขบวนการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการต่างๆ โดยเฉพาะพัฒนาการทางด้านสังคมจิตวิทยาของวัยรุ่น มีลักษณะเฉพาะที่เราควรจะต้องคำนึงถึง คือ
1. ไม่มีการพัฒนาการหรือการเปลี่ยนแปลงอะไรที่ดีที่สุดหรือมีแผนเฉพาะหรือเหมาะ สมสำหรับวัยรุ่นทุกคน เพราะวัยรุ่นแต่ละคนในแต่ละชุมชน สังคม เชื้อชาติต่าง ๆ ก็มีความหลากหลาย แตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็นทางด้านพื้นฐานทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรมและค่านิยมต่าง ๆ
2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระวิทยา อารมณ์ และพัฒนาการในด้านต่างๆ ไม่สอดคล้องหรือไปด้วยกัน จะเห็นได้ชัดเจนว่าในปัจจุบันนี้การเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย การเข้าสู่การเป็นหนุ่มสาว เร็วกว่าในอดีตที่ผ่านมา ขณะที่พัฒนาการทางด้านความคิดและการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลแบบผู้ใหญ่ต้องใช้ เวลา ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยรุ่นช่วงปลาย ( อายุ 18-21 ปี ) หรือหลังจากนี้ (3) จึงจะมีการพัฒนาการในด้านนี้ได้สมบูรณ์มีการคิดและการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ทำให้วัยรุ่นถูกมองจากภายนอกว่าเป็นผู้ใหญ่แต่การกระทำหรือการแสดงออกยัง เป็นแบบเด็กๆ อยู่
3. วัยรุ่นเป็นช่วงระยะเวลาที่ไม่มั่นคง มีความอ่อนไหวทางด้านจิตใจและอารมณ์ค่อนข้างมาก จนมีผู้ให้วัยรุ่นเป็นช่วงระยะเวลาที่เรียกว่า Normal Psychosis ถึงแม้จะมีผันผวนหรือมีความผิดปกติบ้างในบางโอกาส แต่วัยรุ่นส่วนใหญ่ก็สามารถแก้ไขปัญหาผ่านพ้นภาวะวิกฤตต่างๆ ในระยะวัยรุ่นไปได้โดยไม่มีปัญหาใดๆ (2) ในการที่เราจะใช้หลักเกณฑ์อะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวในการที่จะ บอกว่าเด็กเข้าสู่วัยรุ่นแล้วนั้น บางครั้งก็อาจจะไม่ถูกต้องเหมาะสมทั้งหมด ตัวอย่างเช่น เราใช้อายุเป็นตัวกำหนด แต่ในปัจจุบันก็จะเห็นว่าเด็กเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วกว่าเดิมโดยเฉพาะ เด็กผู้หญิงและมีพฤติกรรมทางเพศเร็วขึ้น จากการศึกษานักศึกษาชายไทยในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคพบว่าเคยมีเพศสัมพันธ์ ถึงร้อยละ 33-68.5 และนักศึกษาหญิงเคยมีเพศสัมพันธ์ถึงร้อยละ 4.2-25.4 (4) หรือใช้การเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงของร่างกายเมื่อเข้าวัยหนุ่มสาว ก็คงจะไม่ถูกต้องทั้งหมดเพราะเด็กยังมีพัฒนาทางด้านความคิด การตัดสินใจเป็นแบบเด็กอยู่ ฉะนั้นเราควรจะได้ใช้ตัวบ่งชี้หลายๆ อย่าง มาใช้ประกอบร่วมกัน ไม่ว่าอายุ การเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เมื่อเข้าวัยหนุ่มสาว และพัฒนาการทางด้านต่างๆ เช่น อารมณ์ จิตสังคม ฯลฯ ก็จะทำให้เราเข้าใจและประเมินบอกได้ว่าเขาเข้าสู่วัยรุ่นระยะไหนได้เหมาะสม ถูกต้องมากขึ้น เพราะในการให้การดูแลและให้คำปรึกษาแก่เด็กวัยรุ่นนั้นถือเป็นเรื่องละเอียด อ่อน ต้องมีการปรับรูปแบบและวิธีการให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโต การพัฒนาการในด้านต่างๆ รวมถึงวุฒิภาวะของวัยรุ่นด้วย
ปัจจุบัน สังคม สิ่งแวดล้อม สื่อต่างๆ เข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาการทางด้านสังคมจิตวิทยาของวัยรุ่นอย่างมาก โดยเฉพาะสื่อ นักวิชาการบางคนให้ความสำคัญและมีบทบาทมากกว่ากลุ่มเพื่อน ที่เรียกว่า Super Peer สื่อเป็นตัวกลางสำคัญที่ให้ข้อมูลข่าวสารแก่เด็กและวัยรุ่น โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 8 ปี ไม่สามารถแยกเรื่องจริงออกจากเรื่องสมมติได้ (5) เด็กยังขาดเหตุผล ทำให้เขามีพฤติกรรมเรียนแบบ ระยะวัยรุ่นการพัฒนาการทางด้านอารมณ์ จิตใจ และพฤติกรรมต่างๆ มีความสำคัญมากกว่าการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงของร่างกายและอวัยวะต่างๆ เนื่องจากปัญหาของวัยรุ่นส่วนใหญ่เป็นปัญหาทางด้านอารมณ์ จิตใจ และพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การเจ็บป่วยและสาเหตุการตายของวัยรุ่นที่สำคัญ
พัฒนาการทางด้านสังคมจิตวิทยา ในวัยรุ่น แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. ระยะวัยรุ่นตอนต้น อายุประมาณ 10 – 13 ปี
2. ระยะวัยรุ่นตอนกลาง อายุประมาณ 14 – 17 ปี
3. ระยะวัยรุ่นตอนปลาย อายุประมาณ 17 – 21 ปี
การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ในช่วงระยะวัยรุ่นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่เด็กทุกคนเมื่อจะเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่จะต้องผ่าน ขบวนการต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญและต้องเรียนรู้ ฉะนั้นตัววัยรุ่นเองรวมถึงพ่อแม่ ผู้ปกครอง บุคลากรต่างๆ รวมทั้งแพทย์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับวัยรุ่นควรจะได้มีความเข้าใจในสิ่ง ต่างๆ เหล่านี้ ตัวอย่างเช่น ในด้านการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายของเด็กจะมีกลุ่มเด็กที่มีการเจริญเติบ โตเร็วและกลุ่มที่มีการเจริญเติบโตช้า แต่ในที่สุดทั้ง 2 กลุ่มก็จะสามารถเจริญเติบโตได้ทันกันในที่สุด (6) แต่จะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนเต็มตามศักยภาพหรือไม่คงจะขึ้นกับปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น พันธุกรรม การเลี้ยงดู ภาวะโภชนาการ ปัญหาสุขภาพของร่างกาย สังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ฯลฯ

 

ร่างหัวข้อศิลปะนิพนธ์

หัวข้อที่ 1 การออกแบบนิตยสารข่าวเพื่อวัยรุ่น : สาขาวิชาศิลปกรรม ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ระหว่างปี พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2558

หัวข้อที่ 2 การออกแบบนิตยสารข่าวเพื่อนักเรียนมัธยมปลาย : สาขาวิชาศิลปกรรม ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ระหว่างปี พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2558

หัวข้อที่ 3 การออกแบบนิตยสารข่าวเพื่อนิสิต นักศึกษา : สาขาวิชาศิลปกรรม ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
 ระหว่างปี พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2558