วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมาย : นักเรียนมัธยมปลาย
เนื่องจากสภาพสังคมในตอนนี้เสื่อมลงไปมาก มีข่าวเสียๆออกมามากมายที่เกี่ยวกับพฤติกรรมนักเรียนที่ไม่เหมาะสม ส่วนมากข่าวที่ออกมานั้นจะเป็นนักเรียนที่อยู่ในช่วงมัธยมปลาย ดูง่ายๆจากการค้นหาข้อมูลในเว็บค้นหาอย่าง Google ก็มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวไม่ดีเกี่ยวกับนักเรียน

ภาพจากเว็บ https://www.google.co.th/#hl=th&sclient=psy-ab&q=%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1&oq=%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1&gs_l=hp.3...2577.2577.6.2953.1.1.0.0.0.0.127.127.0j1.1.0...0.0...1c.0N4GieudT54&pbx=1&bav=on.2,or.r_gc.r_pw.r_qf.,cf.osb&fp=ce2bd7739eb521fa&biw=1366&bih=663

ตัวผมจึงมีแนวคิดที่จะนำเสนอสื่อที่เข้าถึงนักเรียนง่ายๆ อย่างเช่นพวกนิตยสาร ที่เป็นที่สนใจของนักเรียนอยู่แล้ว โดยการนำเสนอข่าวในรูปแบบนิตยสารที่ใช้ภาษาง่ายๆเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจของนักเรียนมัธยม

พัฒนาการทางด้านสังคมจิตวิทยาของวัยรุ่น
( Psychosocial Development in Adolescent )
โดย : นพ. วิโรจน์ อารีย์กุล วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

วัยรุ่นเป็นวัยช่วงต่อระหว่างวัยเด็กและวัย ผู้ใหญ่เป็นช่วงระยะเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเจริญเติบโตทางด้าน ร่างกาย ลักษณะที่บ่งบอกถึงความเป็นหนุ่มสาว ขณะเดียวกันพัฒนาการทางด้านอารมณ์ สังคมและจิตใจก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยแต่เป็นไปในลักษณะที่ไม่ค่อยสอดคล้องหรือ เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความสับสน ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดความยับยั้งชั่งใจ ขาดประสบการณ์ ทำให้วัยรุ่นตัดสินใจกระทำหรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมโดยไม่ได้คำนึงถึงผล เสียที่เกิดขึ้นตามมาจากการกระทำของตน และช่วงวัยรุ่นถือว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่มีปัญหาทางด้านจิตสังคม อารมณ์และพฤติกรรมเสี่ยงมากกว่าช่วงอายุอื่นๆ (1) ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
วัยรุ่นเป็นระยะของการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการทาง ด้านสรีระของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมไปพร้อมๆ กัน ซึ่งพัฒนาการบางอย่างได้ดำเนินการมาก่อนบ้างแล้วในช่วงระยะก่อนวัยรุ่นและ กระบวนการพัฒนาการในด้านต่างๆ ยังมีการดำเนินการต่อไป ถึงแม้จะมีการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายเต็มที่แล้ว (2) ขบวนการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการต่างๆ โดยเฉพาะพัฒนาการทางด้านสังคมจิตวิทยาของวัยรุ่น มีลักษณะเฉพาะที่เราควรจะต้องคำนึงถึง คือ
1. ไม่มีการพัฒนาการหรือการเปลี่ยนแปลงอะไรที่ดีที่สุดหรือมีแผนเฉพาะหรือเหมาะ สมสำหรับวัยรุ่นทุกคน เพราะวัยรุ่นแต่ละคนในแต่ละชุมชน สังคม เชื้อชาติต่าง ๆ ก็มีความหลากหลาย แตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็นทางด้านพื้นฐานทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรมและค่านิยมต่าง ๆ
2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระวิทยา อารมณ์ และพัฒนาการในด้านต่างๆ ไม่สอดคล้องหรือไปด้วยกัน จะเห็นได้ชัดเจนว่าในปัจจุบันนี้การเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย การเข้าสู่การเป็นหนุ่มสาว เร็วกว่าในอดีตที่ผ่านมา ขณะที่พัฒนาการทางด้านความคิดและการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลแบบผู้ใหญ่ต้องใช้ เวลา ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยรุ่นช่วงปลาย ( อายุ 18-21 ปี ) หรือหลังจากนี้ (3) จึงจะมีการพัฒนาการในด้านนี้ได้สมบูรณ์มีการคิดและการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ทำให้วัยรุ่นถูกมองจากภายนอกว่าเป็นผู้ใหญ่แต่การกระทำหรือการแสดงออกยัง เป็นแบบเด็กๆ อยู่
3. วัยรุ่นเป็นช่วงระยะเวลาที่ไม่มั่นคง มีความอ่อนไหวทางด้านจิตใจและอารมณ์ค่อนข้างมาก จนมีผู้ให้วัยรุ่นเป็นช่วงระยะเวลาที่เรียกว่า Normal Psychosis ถึงแม้จะมีผันผวนหรือมีความผิดปกติบ้างในบางโอกาส แต่วัยรุ่นส่วนใหญ่ก็สามารถแก้ไขปัญหาผ่านพ้นภาวะวิกฤตต่างๆ ในระยะวัยรุ่นไปได้โดยไม่มีปัญหาใดๆ (2) ในการที่เราจะใช้หลักเกณฑ์อะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวในการที่จะ บอกว่าเด็กเข้าสู่วัยรุ่นแล้วนั้น บางครั้งก็อาจจะไม่ถูกต้องเหมาะสมทั้งหมด ตัวอย่างเช่น เราใช้อายุเป็นตัวกำหนด แต่ในปัจจุบันก็จะเห็นว่าเด็กเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วกว่าเดิมโดยเฉพาะ เด็กผู้หญิงและมีพฤติกรรมทางเพศเร็วขึ้น จากการศึกษานักศึกษาชายไทยในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคพบว่าเคยมีเพศสัมพันธ์ ถึงร้อยละ 33-68.5 และนักศึกษาหญิงเคยมีเพศสัมพันธ์ถึงร้อยละ 4.2-25.4 (4) หรือใช้การเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงของร่างกายเมื่อเข้าวัยหนุ่มสาว ก็คงจะไม่ถูกต้องทั้งหมดเพราะเด็กยังมีพัฒนาทางด้านความคิด การตัดสินใจเป็นแบบเด็กอยู่ ฉะนั้นเราควรจะได้ใช้ตัวบ่งชี้หลายๆ อย่าง มาใช้ประกอบร่วมกัน ไม่ว่าอายุ การเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เมื่อเข้าวัยหนุ่มสาว และพัฒนาการทางด้านต่างๆ เช่น อารมณ์ จิตสังคม ฯลฯ ก็จะทำให้เราเข้าใจและประเมินบอกได้ว่าเขาเข้าสู่วัยรุ่นระยะไหนได้เหมาะสม ถูกต้องมากขึ้น เพราะในการให้การดูแลและให้คำปรึกษาแก่เด็กวัยรุ่นนั้นถือเป็นเรื่องละเอียด อ่อน ต้องมีการปรับรูปแบบและวิธีการให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโต การพัฒนาการในด้านต่างๆ รวมถึงวุฒิภาวะของวัยรุ่นด้วย
ปัจจุบัน สังคม สิ่งแวดล้อม สื่อต่างๆ เข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาการทางด้านสังคมจิตวิทยาของวัยรุ่นอย่างมาก โดยเฉพาะสื่อ นักวิชาการบางคนให้ความสำคัญและมีบทบาทมากกว่ากลุ่มเพื่อน ที่เรียกว่า Super Peer สื่อเป็นตัวกลางสำคัญที่ให้ข้อมูลข่าวสารแก่เด็กและวัยรุ่น โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 8 ปี ไม่สามารถแยกเรื่องจริงออกจากเรื่องสมมติได้ (5) เด็กยังขาดเหตุผล ทำให้เขามีพฤติกรรมเรียนแบบ ระยะวัยรุ่นการพัฒนาการทางด้านอารมณ์ จิตใจ และพฤติกรรมต่างๆ มีความสำคัญมากกว่าการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงของร่างกายและอวัยวะต่างๆ เนื่องจากปัญหาของวัยรุ่นส่วนใหญ่เป็นปัญหาทางด้านอารมณ์ จิตใจ และพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การเจ็บป่วยและสาเหตุการตายของวัยรุ่นที่สำคัญ
พัฒนาการทางด้านสังคมจิตวิทยา ในวัยรุ่น แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. ระยะวัยรุ่นตอนต้น อายุประมาณ 10 – 13 ปี
2. ระยะวัยรุ่นตอนกลาง อายุประมาณ 14 – 17 ปี
3. ระยะวัยรุ่นตอนปลาย อายุประมาณ 17 – 21 ปี
การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ในช่วงระยะวัยรุ่นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่เด็กทุกคนเมื่อจะเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่จะต้องผ่าน ขบวนการต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญและต้องเรียนรู้ ฉะนั้นตัววัยรุ่นเองรวมถึงพ่อแม่ ผู้ปกครอง บุคลากรต่างๆ รวมทั้งแพทย์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับวัยรุ่นควรจะได้มีความเข้าใจในสิ่ง ต่างๆ เหล่านี้ ตัวอย่างเช่น ในด้านการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายของเด็กจะมีกลุ่มเด็กที่มีการเจริญเติบ โตเร็วและกลุ่มที่มีการเจริญเติบโตช้า แต่ในที่สุดทั้ง 2 กลุ่มก็จะสามารถเจริญเติบโตได้ทันกันในที่สุด (6) แต่จะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนเต็มตามศักยภาพหรือไม่คงจะขึ้นกับปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น พันธุกรรม การเลี้ยงดู ภาวะโภชนาการ ปัญหาสุขภาพของร่างกาย สังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ฯลฯ

 

ร่างหัวข้อศิลปะนิพนธ์

หัวข้อที่ 1 การออกแบบนิตยสารข่าวเพื่อวัยรุ่น : สาขาวิชาศิลปกรรม ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ระหว่างปี พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2558

หัวข้อที่ 2 การออกแบบนิตยสารข่าวเพื่อนักเรียนมัธยมปลาย : สาขาวิชาศิลปกรรม ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ระหว่างปี พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2558

หัวข้อที่ 3 การออกแบบนิตยสารข่าวเพื่อนิสิต นักศึกษา : สาขาวิชาศิลปกรรม ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
 ระหว่างปี พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2558